ท่านมีความคิดเห็นว่า
เว็บไซต์สำนักงานเทศบาลตำบลป่าติ้ว
มีประโยชน์ต่อประชาชนในเทศบาลตำบลป่าติ้วในด้านใดมากที่สุด
ลักษณะที่ตั้ง/อาณาเขต และเขตการปกครอง
เทศบาลตำบลป่าติ้ว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดยโสธร ระยะห่างอำเภอเมืองยโสธร 27 กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานี 100 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดอำนาจเจริญ 25 กิโลเมตร เนื้อที่ และอาณาเขตห่างจากกรุงเทพฯ 650 กิโลเมตร มีพื้นที่ 5.72 ตารางกิโลเมตร จากจำนวน 3 หมู่บ้าน คือหมู่ที่ 4 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 12 ตำบลโพธิ์ไทร อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร โดยมีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินยโสธร-อำนาจเจริญ หมายเลข 202 ตรง กม. 25 ตามแนวเส้นตั้งฉาก 500 เมตร เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนไปบ้านหนองแข้ ฟากตะวันตกตรงริมห้วยวังกะละฝั่งใต้จากเขตที่ 2 เลียบริมห้วยวังกะละฝั่งใต้ทางทิศตะวันออก ถึงหลักเขตที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางไปหนองสำโรง ฟากตะวันตก
ทิศตะวันออก จากหลักเขตที่ 3 เลียบตามริมห้วยวังกะละฝั่งตะวันตกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินสายยโสธร-อำนาจเจริญ หมายเลข 202 – ฟากใต้ จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นตรงไปทางทิศใต้ถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินสายยโสธร-อำนาจเจริญ หมายเลข 202 ตามแนวเส้นตั้งฉาก 1,000 เมตร
ทิศใต้ จากหลักเขตที่ 5 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ถึงหลักเขตที่ 6 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินสายยโสธร-อำนาจเจริญ หมายเลข 202 ตรง กม. 25 ตามแนวเส้นตั้งฉาก 1,000 เมตร
ทิศตะวันตก จากหลักเขตที่ 6 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือบรรจบหลักเขตที่ 1
สภาพภูมิประเทศและลักษณะภูมิอากาศ
สภาพธรณีสัณฐานโดยทั่วไป เป็นที่ราบสูง ลักษณะที่ดินสลับพื้นราบ อยู่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง 130 เมตร ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน ไม่มีภูเขา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ
ลักษณะภูมิอากาศ แบ่งออกได้เป็น 3 ฤดูกาล
ฤดูฝน เริ่มในเดือนพฤษภาคม – เดือนตุลาคม โดยจะมีฝนตกชุกในเดือนสิงหาคมของทุกปี
ฤดูหนาว เริ่มในเดือนตุลาคม – เดือน กุมภาพันธ์ อากาศจะเย็น โดยทั่วไปจะหนาวจัดในช่วงเดือนธันวาคมและเดือนมกราคม
ฤดูร้อน เริ่มในเดือนมีนาคม – เดือนพฤษภาคม อากาศโดยทั่วไปจะร้อนจัดในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี
สภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม
ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก บางส่วนประกอบอาชีพค้าขายและรับราชการ มีการเลี้ยงสัตว์ เช่น โค กระบือ สุกร เป็ด ไก่ เป็นต้น ส่วนใหญ่เลี้ยงไว้บริโภค และมีบางส่วนนำมาจำหน่ายในชุมชน และประชาชนยังมีการทอผ้า ทอเสื่อ ไว้ใช้ในครัวเรือน การขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจมีอัตราค่อนข้างต่ำ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังมีฐานะยากจน
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
การคมนาคม/ขนส่ง
ก. มีเส้นทางคมนาคมหลักไปสู่อำเภออื่นและตัวจังหวัด คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202 เชื่อมระหว่างอำเภอเมือง จังหวัดยโสธร กับอำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ และ ทางหลวงชนบทสายอำเภอป่าติ้ว-อำเภอกุดชุม
ข. เส้นทางคมนาคมภายในเขตเทศบาลส่วนใหญ่เป็นถนนลาดยาง,ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กและมีบางสายเป็นถนนลูกรัง
การไฟฟ้า
ประชาชนในเขตเทศบาลมีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดยโสธร
การประปา
การใช้น้ำประปาครอบคลุมพื้นที่เขตเทศบาล จากการประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดอำนาจเจริญ
การสื่อสารและโทรคมนาคม
ที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน 1 แห่ง
โทรศัพท์ใช้ทั้งโทรศัพท์พื้นฐาน(โทรศัพท์บ้าน) และโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกระบบ
การใช้ที่ดิน
เทศบาลตำบลป่าติ้ว มีพื้นที่ประมาณ 5.72 ตารางกิโลเมตร การใช้ที่ดินส่วนใหญ่ใช้ในการทำเกษตรกรรม คือ ทำนา ทำไร่ และเป็นที่อยู่อาศัย มีเอกสารสิทธิ์โดยถูกต้อง มีที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ราชพัสดุ และที่ป่าสงวนบางส่วน
การจราจร
เนื่องจากปัจจุบันชุมชนเริ่มมีการขยายตัว ด้านการจราจรมีรถยนต์ประเภทต่างๆ ผ่านไปมาจำนวนมาก มีการขยายถนนหนทางให้มีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่ยังไม่มีสัญญาณไฟจราจร มีเพียงป้ายจราจรติดตามจุดเสี่ยงและตามแยกต่างๆ และเทศบาลมีโครงการปรับปรุงการจราจรในเขตเทศบาล โดยการติดตั้งกระจกนูนตามแยกและจุดเสี่ยงต่างๆ ฯลฯ
ด้านเศรษฐกิจ
โครงสร้างทางเศรษฐกิจ/รายได้ประชากร ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ค้าขายและรับราชการบางส่วน มีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 85,328.08.-บาทต่อคนต่อปี (จากข้อมูล จปฐ. ปี พ.ศ.2566)
การอุตสาหกรรม
ปั๊มน้ำมัน จำนวน 4 แห่ง
การพาณิชยกรรม/การบริการ
การค้าขายจะดำเนินธุรกิจบริเวณตลาดสดเทศบาลและบริเวณโดยรอบ ได้แก่ ร้านค้าขายของเบ็ดเตล็ด มีสาขาธนาคารพาณิชย์ในพื้นที่ จำนวน 2 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
การท่องเที่ยว
จัดงานประเพณีบุญบั้งไฟในเดือนมิถุนายนของทุกปี งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา งานประเพณีบุญเดือนสาม งานประเพณีลอยกระทง
ด้านสังคม
ประชากร แยกตามเพศและอายุ จำนวน 2,943 คน แยกเป็นชาย 1,453 คน หญิง 1,490 คน เป็นกลุ่มชนภายในท้องถิ่น ไม่มีการอพยพมาจากที่อื่น จำนวนหลังคาเรือน 1,318 หลังคาเรือน ดังนี้
อายุ | ชาย | หญิง | รวม |
แรกเกิด-14 ปี | 222 | 198 | 420 |
15-24 ปี | 168 | 169 | 337 |
25-59 ปี | 816 | 784 | 1,600 |
60 ปีขึ้นไป | 247 | 339 | 586 |
รวมทั้งสิ้น | 1,453 | 1,490 | 2,943 |
หมายเหตุ ข้อมูล ณ วันที่ 26 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2567
การศึกษา ศาสนา ศิลปะประเพณีและวัฒนธรรม
ประชากรส่วนใหญ่จบการศึกษาภาคบังคับ นับถือศาสนาพุทธ ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีไทยท้องถิ่น มีวัด 3 แห่ง คือวัดป่าติ้ว (เครือมะยาง) วัดบูรพาป่าติ้ว วัดป่าสุริยาลัย ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน 2 แห่ง (ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลป่าติ้วศูนย์ 1,ศูนย์2 ) มีโรงเรียนประถมศึกษา 1 แห่ง (โรงเรียนอนุบาลโพธาภินันท์นุกูล) โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง (โรงเรียนป่าติ้ววิทยา)
การสาธารณสุข
โรงพยาบาลป่าติ้ว เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง
การสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม
มีการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพให้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วยติดเชื้อในเขตเทศบาล เป็นประจำทุกเดือน
การชุมชนและการเคหะ มีอาคารพานิชย์
การสร้างบ้านเรือนเป็นแบบท้องถิ่นอีสาน ส่วนใหญ่เป็นบ้าน 2 ชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
อยู่ในระดับค่อนข้างดี